HtmLL PoundN  JaP8*

สถิติ
เปิดเมื่อ22/08/2012
อัพเดท23/08/2012
ผู้เข้าชม6927
แสดงหน้า8377
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ด้วงคีมกระทิงดำ

ด้วงคีมกระทิงดำ
อ้างอิง อ่าน 1119 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง

poundwza741


ถิ่นกำเนิด  ด้วงคีมกระทิงดำไม่มีสายพันธุ์ย่อย แต่ว่าถิ่นกำเนิดแต่ละโซนนั้นทำให้ฟอร์มของคีมและทรงคีมต่างกันออกไป

ขนาดใหญ่สุด : ประมาณ 95 มม.
ระดับความหายาก : หายาก
ระดับความยากในการเลี้ยง : ระดับที่ 3

จุดเด่น 
  • ลำตัวสีดำ 
  • บริเวณหน้าจะไม่มีเขาเล็กๆยื่นออกมา ซึ่งเป็นจุึดต่างจากด้วงคีมเคอร์วิเดนส์และด้วงคีมแกรนดิส
  • คีมจะเรียวโค้งเข้าหากัน จะมีหยักขนาดใหญ่ยื่นออกมาด้านละ 1 หยัก
  • เพศผู้ขนาดเล็กอาจจะไม่มีหยักตั้งขึ้นมา และปีกจะมีลายเล็กน้อย
  • กระทิงดำอินเดียและภูฏานได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่ด้วงคีมกระทิงดำด้วยกัน และฟอร์มคีมจะใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับกระทิงดำในโซนอินโดจีน
  • กระทิงดำมาเลเซียและเวียตนามกำลังเริ่มได้รับความนิยมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากยังหาได้ยากมากอยู่

ขนาดตู้เลี้ยงสำหรับตัวเต็มวัย ตู้เลี้ยงขนาดกลาง
ขนาดกระปุกสำหรับตัวอ่อน  กระปุก 700-3200 มล.

ไม้ผุ : ชอบไม้ผุที่มีความนิ่มปานกลาง สามารถใช้เล็บจิกได้ ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งด้านในขอนไม้ และบริเวณโดยรอบผิวขอนไม้
ลักษณะการวางไข่ : สามารถวางไข่ได้ทั้งในไม้ผุ และในวัสดุรองพื้น 
ตัวเมียสามารถกัดไม้เป็นโพรงเพื่อมุดเข้าไปในท่อนไม้และทำรังวางไข่ด้านในได้ บางครั้งกัดรอบๆผิวไม้เพื่อวางไข่ การใส่ไม้ผุควรกลบทับด้วย เพราะตัวเมียชอบขุดเจาะลงไปด้านในรวมไปถึงบริเวณโดยรอบขอนไม้
หากต้องการให้วางไข่ในวัสดุรองพื้น ควรหมักบ่มทิ้งไว้ซักระยะให้วัสดุรองพื้นนิ่มเละ ตัวเมียมักจะวางไข่ที่ข้างตู้จนสามารถมองเห็นได้จากภายนอก


กระทิงดำอินเดียและภูฏานต้องการอุณหภูมิต่ำกว่ากระทิงดำอื่นประมาณ 3 องศา

ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย 40-60 ฟอง
อายุตัวเต็มวัย
  • เพศผู้ 12-24 เดือน
  • เพศเมีย 12-20 เดือน

อายุตัวอ่อน ::
  • เพศผู้ 6-28 เดือน
  • เพศเมีย 5-8 เดือน

อาหารตัวอ่อน
เชื้อเห็ดนางฟ้า

DongKemPound2enlightened
ด้วงคีมกระทิงดำได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมานาน และจัดเป็นด้วงกลุ่มแรกๆที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆที่ส่งด้วงคีมกระทิงดำออกไปที่ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในด้วงคีมที่นักเพาะด้วงส่วนใหญ่จะต้องเลี้ยงให้ได้ เพราะการเพาะให้ออกมาได้ขนาด 80มม. ขึ้นไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะนอกจากต้องคอยดูแลเรื่องของอาหารตัวอ่อนแล้วนั้น ยังต้องควบคุมเรื่องอุณหภูมิเป็นอย่างดีอีกด้วย
ตัวจับจากธรรมชาติในประเทศไทยปัจจุบันนั้นขนาด 80มม. หาได้ยากมากแล้ว ในขณะที่ตัวเพาะนั้นสามารถทำได้ถึง 85มม.
สถิติตัวเพาะกระทิงดำอินเดียปัจจุบันอยู่ที่ 95มม. เป็นขนาดที่ใหญ่กว่าตัวจับจากธรรมชาติไปแล้ว ซึ่งตัวอ่อนใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 28 เดือนในห้องควบคุมอุณหภูมิตลอด 24 ชม. ที่ 16 องศา
การเลี้ยงในประเทศไทยนั้นอย่างน้อยควรจะต้องคุมอุณหภูมิให้ได้ที่ 24-25 องศา เพื่อมีโอกาสลุ้นให้เพาะได้ขนาด 70 มม.
ตัวอ่อนนั้นทานวัสดุรองพื้นเป็นอาหารได้หรือทานเชื้อเห็ดนางฟ้าก็ได้เช่นกัน ภายในระยะเวลา 3-4 เดือน ตัวอ่อนสามารถพัฒนาให้มีน้ำหนักได้ถึง 20 กรัม หากต้องการเลี้ยงกระทิงดำให้ได้ขนาด 80มม.ขึ้นไป ต้องทำน้ำหนักให้ได้ 45 กรัม
ตัวเมียชอบวางไข่ในไม้ผุมากกว่าในวัสดุรองพื้น ควรใส่ขอนไม้ในตู้เพาะเลี้ยงอย่างน้อย 2-3 ขอนและกลบทับจนมิดหรือมีโผล่ขึ้นมาบางส่วนประมาณ 1 ใน 5
หากสามารถเพาะด้วงคีมกระทิงดำได้ จะสามารถเพาะด้วงคีมกระทิงเล็กได้เช่นกัน 

 
poundwza741 [email protected] [182.52.157.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :